เนื้อหาของภาพ ของ พายุ (จอร์โจเน)

ด้านล่างซ้ายของภาพเป็นภาพของชายที่อาจจะเป็นทหารถือไม้พลองที่อาจจะเป็นหอกที่มองไปยังด้านขวาของภาพแต่ดูเหมือนว่าจะไม่ได้มองตรงไปยังสตรีที่นั่งอยู่ทางขวาของภาพ นักประวัติศาสตร์ศิลปะกล่าวว่าชายผู้นี้อาจจะเป็นทหาร คนเลี้ยงแกะ ยิปซี หรือชายโสด จากการเอ็กซเรย์พบว่าเดิมจอร์โจเนเขียนเป็นภาพสตรีเปลือยอีกคนหนึ่ง บ้างก็มีความเห็นว่าชายคนนี้เป็นสัญลักษณ์ของความเป็นหลักที่เห็นได้จากเสาหินที่ตั้งอยู่ด้านหลังที่มักจะใช้เป็นสัญลักษณ์ของพลังและความแข็งแกร่ง แต่เสาที่เห็นเป็นเสาหัก—ซึ่งถือว่าเป็นสัญลักษณ์ของความตาย อีกสิ่งที่น่าสังเกตอีกอย่างหนึ่งคือนกกระสาที่อยู่บนหลังคาทางด้านขวาที่เป็นสัญลักษณ์ของความรักของพ่อแม่ต่อลูก

ฉากหลังของภาพดูเหมือนว่าจะมีพายุอยู่รำไร สีของภาพเป็นสีที่ไม่แจ่มใสและแสงก็เป็นแสงที่นุ่ม สีที่ใช้ส่วนใหญ่เป็นสีเขียวและน้ำเงิน ภูมิทัศน์มิได้เป็นแต่เพียงฉากหลังแต่เป็นสิ่งสำคัญของภาพเช่นจิตรกรรมภูมิทัศน์ในสมัยแรก[1] ภาพเขียนมีบรรยากาศที่ “เงียบ” ซึ่งเป็นสิ่งที่ยังทำให้ผู้ดูในปัจจุบันยังฉงนอยู่

ภาพนี้ไม่มีคำบรรยายร่วมสมัยเท่าที่ทราบฉะนั้นจึงไม่มีความหมายที่ตีไว้ ความเห็นในเรื่องความหมายของภาพก็มีด้วยกันหลายทัศนะ บ้างก็ว่าเป็นภาพ “พระเยซูหนีไปอียิปต์” บ้างก็ว่าเป็นฉากจากตำนานเทพคลาสสิกของเทพปารีส และ เทพอีโนนี (Oenone) หรือ จากนวนิยายกรีกโบราณ นักวิชาการอิตาลีซาลวาตอเร เซตติสให้ความเห็นว่าเมืองร้างในฉากหลังของภาพเป็นสัญลักษณ์ของสวรรค์ คนสองคนในภาพคืออาดัมและอีฟและลูกชายเคน สายฟ้าในสมัยกรีกโบราณและฮิบรูถือว่าเป็นสัญลักษณ์ของพระเจ้าผู้ขับทั้งสองคนออกจากสวนอีเด็น บ้างก็ให้ความเห็นว่าเป็นภาพอุปมานิทัศน์ทางจริยธรรม แต่บ้างก็ว่าจอร์โจเนไม่มีจุดประสงค์ใดใดในการสื่อความหมาย[1]

นักวิชาการกล่าวว่าภาพนี้มีอิทธิพลต่อภาพ “อาหารกลางวันบนลานหญ้า” (Le déjeuner sur l'herbe) โดยเอดวด มาเนท์[2]

ใกล้เคียง

พายุ พายุหมุนเขตร้อน พายุไต้ฝุ่นเกย์ (พ.ศ. 2532) พายุไต้ฝุ่นมังคุด (พ.ศ. 2561) พายุไต้ฝุ่นรามสูร (พ.ศ. 2557) พายุหมุนเขตร้อนในแอตแลนติกใต้ พายุไต้ฝุ่นทุเรียน พายุแดเนียล พายุสุริยะ พายุไต้ฝุ่นวิภา (พ.ศ. 2550)